loader image

Author Archives: Methaphat Srimanus

พลังของเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และการค้นพบตัวเอง เพื่อส่งเสริมโอกาสให้กับคนไทย | The Power of Technology for Fostering Learning and Self-Discovery to Empower Opportunities.

การที่ระบบการศึกษามันไม่ตอบโจทย์เลยแล้วเด็กที่ประสบปัญหาด้านนี้ เมื่อมีทุนก็สามารถออกไปศึกษาหรือค้นพบตัวเองได้ ในขณะเดียวกันคนอื่นที่ไม่สามารถเข้าถึงโอกาสอื่น ๆ ในการศึกษา พีพีมีความคิดเห็นอย่างไรกับประเด็นนี้ ส่วนตัวให้ความเห็นว่าประเด็นแรกคือ เราต้องตั้งคำถามว่าจุดหมายของการศึกษาของเราคืออะไร คือตอนนี้เราอยู่ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่างเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก เทคโนโลยีไม่ใช่แค่วิ่ง แต่มันคือบินด้วยสปีดที่เร็วมาก ๆ เหมือนล่าสุดอย่างระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence – AI) ที่ทรงพลังมาก ๆ อย่าง GPT-4 ที่ถูกนำเสนอออกมา ซึ่งผลออกมาปรากฎว่ามันสามารถทำข้อสอบได้ดี ไม่ว่าจะเป็น ข้อสอบทางการแพทย์ ทางกฏหมาย ในส่วนนี้มันทำให้คุณครูหลาย ๆ ท่านรู้สึกกังวลว่า “ข้อสอบที่ตนเองมีไม่สามารถวัดผลของเด็กได้อีกต่อไป”แต่ทำให้สะท้อนกลับมามองว่าการศึกษาจริง ๆ มันคืออะไรกันแน่ เราต้องการทำให้เด็กสอบได้ดีขึ้น หรือเราต้องการทำให้เด็กได้เรียนรู้จักตัวเองแล้วก็ทำในสิ่งที่เขาอยากจะทำ เมื่อเรากลับมามองในจุดนี้ ปัจจุบันการศึกษามันมีปัญหาและไม่ดีด้วยคุณภาพของระบบเอง หรือว่ามันไม่ดีเพราะว่าเป้าหมายที่เราตั้งไว้ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ในยุคที่เรามี AI ที่มันสามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ ดังนั้นเมื่อตั้งคำถามว่า “ความเหลื่อมล้ำมันมีผลกับตรงนี้ยังไง” แน่นอนว่าเด็กที่อยู่ในโรงเรียนที่อาจจะมีหลักสูตรที่เป็นแบบต่างประเทศหรือว่าไปเรียนต่างประเทศแน่ ๆ เขาจะได้เห็นโลกที่กว้างกว่าคิดแต่ในขณะเดียวกัน เด็กที่อยู่ในประเทศไทยก็ยังสามารถที่จะรับรู้ข้อมูลที่มันเกิดขึ้นในโลกนี้เพราะว่าเราอยู่ในโลกที่มันเต็มไปด้วยข้อมูลเต็มไปหมด ดังนั้นสำหรับผมคิดว่าความเหลื่อมล้ำมันไม่ใช่แค่ ความเหลื่อมล้ำว่าใครได้ไปเรียนเมืองนอกหรือใครได้อยู่ในไทย แต่ว่ามันเป็นความเหลื่อมล้ำของ ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) ว่าใครเรียนรู้ที่จะใช้ข้อมูลได้เป็นประโยชน์มากกว่ากัน […]

โครงการ Mobile Stroke Unit (MSU) ของศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลศิริราชได้รับรางวัล Gold Medal Award และยังได้รับตำแหน่งแชมป์โลก World Champion Innovation ในงาน WorldInvent TM 22+23 Singapore International Invention Show

มูลนิธิไทยคมร่วมสนับสนุนการดำเนินโครงการ Mobile Stroke Unit (MSU) ตั้งแต่โครงการรถต้นแบบมาจนถึงการผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายของผู้ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ทั้งด้านการออกแบบรถโดยร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ในการพัฒนาตัวรถ จนถึงการขยายผลโดยการนำรถ MSU ไปประจำ ณ โรงพยาบาลที่ห่างไกล เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเข้าถึงการรักษาได้อย่างมีคุณภาพ . นอกจากนี้ยังส่งเสริมการเรียนรู้เรื่อง Stroke Awareness ให้กับคนไทยมีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง ณ ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลศิริราช และร่วมส่งเสริมให้คนไทยทั่วประเทศได้รู้จักและเข้าใจ รวมถึงรณรงค์เพื่อให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยการสนับสนุนโครงการ แสงนำใจ ไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต เฉลิมพระเกียรติ โดยในปีนี้มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการมามากกว่า 280,000 คน . มูลนิธิไทยคมขอแสดงความยินดีกับศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลศิริราช ที่โครงการ Mobile Stroke Unit (MSU) ที่ทุ่มเทพัฒนานวัตกรรมรวมถึงการสร้างการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนจากทั่วประเทศ จนได้รับรางวัล Gold Medal Award และยังได้รับตำแหน่งแชมป์โลก World Champion Innovation ในงาน WorldInvent […]

เสริมสร้าง Soft Power ผ่านการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่แสดงความเป็นตัวตน

แนวคิดของแอปพลิเคชัน “ฟังใจ” ที่มา คือ อยากสร้างพื้นที่ให้นักดนตรีรุ่นใหม่ได้มีพื้นที่ในการแสดงออก โดยที่พยายามลดขั้นตอนัทเและข้อจำกัดในการเผยแพร่ผลงานตัวเองให้ได้น้อยที่สุด ช่วงที่เราทำ “ฟังใจ” ต้องบอกว่าสื่อที่ทำดนตรีเคยถูก Gatekeeper อยู่ในระดับนึงในการสร้างสรรค์ผลงานและผลิตผลงานออกมา ก็จะมีช่องทางที่เป็น Traditional Media อยู่ค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นสื่อ โทรทัศน์ วิทยุ ซึ่งจะมี Airtime จำกัด ดังนั้นจะต้องมีการคัดเลือกว่าวงดนตรีวงไหน หรือ เพลงอะไร ที่จะได้รับเลือกมานำเสนอ เมื่อมาอยู่ในยุคของ Digital หรือ ยุคที่มี Social media จะมีคำหนึ่งคำที่เราเชื่อ คือ “ประชาธิปไตยทางดนตรี” เราอยากให้วงดนตรีทุกวง และ เพลงทุกเพลง ได้มีโอกาสถูกค้นพบเท่ากัน เลยทำแพลตฟอร์มส่วนนี้เข้ามา คือการจัดรูปแบบให้ ไม่ได้ให้น้ำหนักความสำคัญกับวงใดวงหนึ่ง หรือ แนวเพลงใดแนวเพลงหนึ่ง หรือ Trends ของดนตรีใดดนตรีหนึ่งเฉพาะ แต่เราให้อิสระกับผู้ฟัง ในการเข้าถึงบทเพลงที่อยากฟังด้วยตัวเอง โดยหลักการในการจัดเพลย์ลิสต์จะไม่ได้จัดเลือกเฉพาะวงที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว แต่จะเป็นการสร้างให้การค้นพบมีความเป็นธรรมชาติมากขึ้น โดยให้ศิลปินที่มีฐานชื่อเสียงอยู่แล้วมารวมกับศิลปินใหม่ ๆ เพื่อให้ผู้ฟังได้ค้นพบดนตรีในสิ่งที่ตัวเองสนใจจริง ๆ โดยให้เท่าเทียมที่สุด […]

ปลดปล่อยพลังของการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่จาก “ทุกคนเป็นมนุษย์คนหนึ่งเท่ากัน” สู่การสร้างการเรียนรู้เชิงบวก

ชื่อ วราลี เนติศรีรัฒน์ นักออกแบบการเรียนรู้และกระบวนกร (Learning Designer and Facilitator) จาก InsKru พื้นที่แบ่งปันไอเดียการสอน บทบาทของ InsKru ในการส่งเสริมการศึกษาไทยในปัจจุบัน ถ้าพูดถึงบทบาท InsKru ในปัจจุบัน เราเป็นเหมือน Supporter ให้คุณครูได้เป็นนักริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถเป็น Support Teacher ที่จะไปสร้างการเรียนรู้ที่ปลอดภัย และ มีความหมายให้กับเด็ก ๆ ได้ โดยรูปแบบที่ทำมีหลากหลายรูปแบบ เช่น เรื่องของ Community ที่รวมคุณครู มาทำบางสิ่งบางอย่าง เพื่อขับเคลื่อนไปด้วยกัน หรือว่าเป็นเครื่องมือต่าง ๆ การจัดกิจกรรม การจัดอบรมหรือการจัด Workshop ก็เป็นรูปแบบที่ InsKru ใช้ในการ Support คุณครู Facilitator ที่ดีต้องร่วมไปกับสภาพแวดล้อมที่ดีด้วย สภาพแวดล้อมในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ดีเป็นอย่างไร สภาพแวดล้อมที่ดีในการเรียนรู้ สามารถแยกออกมาได้เป็น 2 ประเด็น – ประเด็นแรก คือ […]

Opportunity Space by Dr.Thaksin Shinawatra

“เมื่อผมมีโครงการดาวเทียมไทยคม ผมจึงคิดที่จะใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษา ถมช่องว่างระหว่างเด็กในเมืองกับชนบท และผมก็เลือกโรงเรียนประชาบาลสันกำแพงที่ผมไม่ได้เรียนภาษาอังกฤษ เป็นศูนย์ของเชียงใหม่” . จากดำริเริ่มแรกของดร.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ก่อตั้งมูลนิธิไทยคม และเป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนบ้านสันกำแพง ที่อยากเห็นเยาวชนไทย ได้มีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างการเรียนรู้อย่างทั่วถึง เพราะเชื่อว่าเด็กและเยาวชนสามารถพัฒนาทักษะและศักยภาพของตนเองได้ ขอเพียงแค่ได้มีโอกาส มีพื้นที่ มีกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม ก็จะพัฒนาขีดความสามารถในการเรียนรู้ของตนเองได้ . Opportunity Space by Dr.Thaksin Shinawatra ได้นำแนวคิดมาจากโครงการ FabLab@School ของ Prof. Paulo Blikstein ได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วนเพื่อสร้างพื้นที่แห่งนี้ให้เป็นพื้นที่ของการสร้างสรรค์ไอเดียและปล่อยพลังสร้างสรรค์ของผู้เรียนรู้ ให้ครูและผู้ให้ความรู้ได้ฝึกฝนทักษะการเป็น Active Teacher ตลอดจนเป็นพื้นที่ต้นแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) ในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อส่งเสริมเด็กและเยาวชนไทย ตื่นรู้ คิดได้ ทำเป็น พร้อมเป็นพลเมืองโลก . ห้องปฏิบัติการนี้ได้นำกระบวนการเรียนรู้ Constructionism และ Project Based Learning มาใช้จัดการเรียนรู้ ให้เป็นห้องเรียนแบบพหุวิทยาการ (Multi-disciplinary) ที่ผสมผสานศาสตร์แขนงต่าง ๆ มาใช้ โดยเน้นให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านสร้างสรรค์ชิ้นงาน […]

การสร้างไอเดียและความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นในสังคม เริ่มที่การมีพื้นที่ปลอดภัยในการรับฟัง “Power of Empathic listening for Initiators”

เราควรมีทักษะ หรือ แนวทางอย่างไร ที่จะสามารถสร้างสรรค์ผลงานให้มีความโดดเด่นและไปสู่เวทีโลกได้ เบสท์ : ส่วนตัวคิดว่าปกติ Eyedropper Fill เริ่มทำงานจากงานเรื่องส่วนตัว และเริ่มคิดว่าเวลาจะเริ่มทำงาน 1 ชิ้น จะเริ่มจากเรื่องส่วนตัว หรือ จากเรื่องที่เราประสบพบเจอกับตัวเอง เพราะว่า อย่างแรก ทำให้เราโฟกัสกับประเด็นนี้นานขึ้น และ ทำให้เราอยู่กับประเด็นนั้นจริง ๆ โดยส่วนตัวคิดว่าเรื่องส่วนตัวสามารถเชื่อมโยงกับเรื่องของคนอื่น ๆ ได้เสมอ เพราะเราเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่เป็นส่วนหนึ่งของโลกใบนี้ และคิดว่างานทุกชิ้นจะใช้กระบวนการ เริ่มต้นโดยที่คิดถึงเรื่องของ Personal Story ที่สามารถเชื่อมโยงกับ Universal Story ได้ เลยคิดว่า ถ้าอยากทำงานให้ไปถึงเวทีโลก เราควรจะเริ่มจากงานที่เรารู้สึกกับมันจริง ๆ ก่อน หรือว่า อยากจะลงมือทำจริง ๆ ในมุมมองของ Eyedropper Fill มีมุมมองอย่างไรในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยเพื่อสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ได้มีพื้นที่ในการฟูมฟักไอเดียในการสร้างสรรค์ผลงานของตัวเอง เบสท์ : ถ้าพูดถึงในเรื่องของพื้นที่ปลอดภัย เราคิดว่าความเป็นจริงแล้ว เราเติบโตมาในสังคมของประเทศไทยที่เรารู้สึกว่าพื้นที่ปลอดภัยค่อนข้างหายากในสังคม โดยสังคมในทีนี้รวมไปถึง ความสัมพันธ์แบบครอบครัว เพราะบางครั้ง เมื่อเราทำผิดมา […]

มูลนิธิไทยคมร่วมสนับสนุนโครงการ เขาประทับช้าง เทรล เขาประทับช้าง เทรล Kao Pratubchang Trail – KPTC Trail เมื่อวันที่ 17 – 18 มิถุนายน 2566

มูลนิธิไทยคมร่วมสนับสนุนโครงการ เขาประทับช้าง เทรล เขาประทับช้าง เทรล Kao Pratubchang Trail – KPTC Trail เมื่อวันที่ 17 – 18 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา ณ สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีบ้านจอมบึง จ.ราชบุรี . เป็นเวลากว่า 34 ปี แล้วที่งาน “เขาประทับช้าง เทรล” เป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนจากทั้งไทยและต่างประเทศ ในการส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างนิสัยในการดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย รวมถึงการพัฒนาจิตใจให้เข็มแข็งท้าทายขีดจำกัดของตัวเราเอง ผ่านการวิ่งในเส้นทางศึกษาธรรมชาติและภูมิประเทศที่แตกต่างกันไป อีกทั้งการผสานความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนในการบริหารจัดการให้เกิดงานนี้ขึ้นอย่างต่อเนื่องมากว่า 3 ทศวรรษ เป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนในการริเริ่มออกกำลังกาย จนมีคำกล่าวที่ว่า “หากจะเริ่มวิ่งเทรลต้องมาเริ่มที่งานนี้” และยังเป็นตัวอย่างของการจัดกิจกรรมให้กับงานวิ่งในพื้นที่อื่น ๆ มาร่วมกันขับเคลื่อนสังคมไทยให้ใช้ชีวิตอย่างสมดุลอีกด้วย . มูลนิธิไทยคมส่งเสริมให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี การใช้ชีวิตอย่างสมดุล (Well Balanced Life) ทั้ง กาย ใจ และจิต โดยเริ่มจากการรู้จัก เข้าใจตัวเอง มีวิธีคิดและทักษะที่พร้อมสำหรับความเปลี่ยนแปลง […]

มูลนิธิไทยคมโดยครอบครัวชินวัตรได้ร่วมกับโรงพยาบาลศิริราช พร้อมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน แถลงข่าวการจัดงาน “แสงนำใจไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 9 เฉลิมพระเกียรติ”

เมื่อวันที่ 25 เมษายน ที่ผ่านมา มูลนิธิไทยคมโดยครอบครัวชินวัตรได้ร่วมกับโรงพยาบาลศิริราช พร้อมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน แถลงข่าวการจัดงาน “แสงนำใจไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 9 เฉลิมพระเกียรติ” ภายใต้หัวข้อ “คนรุ่นใหม่ ขับเคลื่อนไทยไร้สโตรค (No STROKE for all Thais by NEW GEN)” ณ ห้องประชุมวีกิจ วีรานุวัฒน์ อาคารอัษฎางค์ชั้น 4 โรงพยาบาลศิริราช โดยมี คุณทรงศักดิ์ เปรมสุข กรรมการมูลนิธิไทยคม เป็นตัวแทนมูลนิธิไทยคมมอบเงินจำนวน 2,000,000 บาท ในฐานะผู้ร่วมสนับสนุนการจัดงานมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ครั้งที่ 3 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งวัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ และสนับสนุนส่งเสริมการจัดกิจกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง โดยให้ประชาชนทั้งประเทศได้มีโอกาสออกกำลังกาย อีกทั้งยังเป็นการสร้างประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ให้กับสังคม โดยงานจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 24 – 29 ตุลาคม 2566 จะจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ให้ความรู้เรื่องโรค หลอดเลือดสมองและกิจกรรมออกกำลังกายเดิน […]

บทบาทของ SOFT POWER สำคัญอย่างไรต่อประเทศ จากบทสัมภาษณ์ผ่านมุมมองของ “คุณแชมป์ ฤทธิกร มหาคชาภรณ์”

Soft Power มีความสำคัญอย่างไรกับประเทศไทย Soft power มีความสำคัญต่อทั้งโลกไม่ใช่กับแค่ในประเทศ โดยมีความสำคัญทั้งสองด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ และ การเมือง ถ้าพูดถึง Soft power เป็นสิ่งที่มีต้นตอมาจากความคิด การที่เราสามารถพัฒนาความคิดให้เกิดเป็นอุตสาหกรรม และสามารถทำให้อุตสาหกรรมนั้นเกิดประสิทธิภาพที่สูงสุดได้ นั่นคือการสร้างนวัตกรรมให้กับวัฒนธรรมนั้นเกิดขึ้น ซี่งการสร้างนวัตกรรมให้วัฒนธรรมเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยหรือประเทศอื่น ๆ บนโลก สามารถสร้างอุตสาหกรรมใหม่ ที่มีขนาดใกล้เคียง หรือ เทียบเท่า กับอุตสาหกรรมที่เป็นรายได้หลักของประเทศเดิมอยู่แล้วได้ ซึ่งถ้าสร้างนวัตกรรมให้กับวัฒนธรรมของคนไทยได้ จะมีโอกาสที่ขยายเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยก้าวขึ้นไปอยู่ในระดับสากลได้นั่นคือความสำคัญของ “Soft Power” วัฒนธรรม / นวัตกรรม ความเป็นจริงคือการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นคือ นวัตกรรม แต่สิ่งที่ทำซ้ำต่อเนื่องมาเป็นเวลานานจนกลายเป็นจารีต คือ วัฒนธรรม แต่สองอย่างนี้เมื่อรวมกันแล้ว ไม่ได้มีค่าเท่ากับสอง แต่มีค่ามากกว่าสาม สี่ หรือ สิบเป็นต้นไป ทั้งสองอย่างนี้เป็นการรวมกันของสองสิ่งที่อยู่ขั้วตรงข้ามกันเข้ามารวมไว้ด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น คนแรกที่เอายางลบมาใส่ไว้ในท้ายของดินสอ ทั้งที่สองสิ่งอยู่ขั้วตรงข้ามกัน สิ่งหนึ่งมีไว้เขียน อีกสิ่งหนึ่งมีไว้ลบ จนกลายเป็นสิ่งที่เราใช้งานจนถึงปัจจุบัน นั่นคือนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนให้สังคมก้าวไปข้างหน้า การนำนวัตกรรมและวัฒนธรรมสองสิ่งนี้มารวมกัน […]

คุณปิฎก สุขสวัสดิ์ กรรมการมูลนิธิไทยคมได้เป็นตัวแทนมูลนิธิไทยคมเข้าร่วมพิธีมอบถ้วยรางวัลพระราชทานจากโครงการแสงนำใจไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 8 เฉลิมพระเกียรติ แผ่นดินไทย ไร้สโตรค

เมื่อวันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 13:00-15:30 น. ณ ศาลาศิริราช ๑๐๐ ปี โรงพยาบาลศิริราช คุณปิฎก สุขสวัสดิ์ กรรมการมูลนิธิไทยคมได้เป็นตัวแทนมูลนิธิไทยคมเข้าร่วมพิธีมอบถ้วยรางวัลพระราชทานจากโครงการแสงนำใจไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 8 เฉลิมพระเกียรติ แผ่นดินไทย ไร้สโตรค ซึ่งโครงการนี้มูลนิธิไทยคมได้ร่วมกับโรงพยาบาลศิริราชและหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนในการจัดงาน พร้อมทั้งมอบเงินรายได้เพื่อนำเข้ากองทุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช และบัญชีแสงนำใจไทยทั้งชาติฯ ระดับเขตสุขภาพ​ทั้ง 12 เขต