loader image

“ทำโลกใบใหญ่ ให้เป็นโลกแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยแนวคิดใหม่ เชื่อมต่อเส้นทางสายปัญญา ผ่านเทคโนโลยี การสื่อสารคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต”

โครงการ ส่งเสริม และสนับสนุนนวัตกรรมการเรียนรู้


พัฒนาประเทศ ต้องเริ่มที่พัฒนาการศึกษา

การใช้เทคโนโลยี และการสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบใหม่ นอกเหนือจากการท่องจำตำรา อย่างนกแก้วนกขุนทองแบบดั้งเดิม เป็นสิ่งที่โลกให้ความสนใจมาอย่างต่อเนื่อง

ในปีพ.ศ. 2539 คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา รองประธาน มูลนิธิไทยคม และประธานมูลนิธิศึกษาพัฒน์ ได้เข้าร่วมประชุมระดับโลกเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบใหม่ ด้วยแนวคิด Constructionism การเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา โดยมีผู้เชี่ยวชาญจาก The Media Lab of Massachusetts of Technology (MIT) สหรัฐฯ เป็นวิทยากร คุณพารณ มีความสนใจในแนวคิดดังกล่าว จึงร่วมมือกับทาง MIT เพื่อร่วมกันคิดค้นแนวคิด ที่เข้ากับการพัฒนาระบบการศึกษาของไทย ผ่านนวัตกรรมการเรียนรู้หรือ Innovative Learning ซึ่งมีรากฐานมาจากทฤษฎี Constructionism

จากระบบการเรียนรู้แบบ MIT สู่การศึกษาของไทย

“นวัตกรรมการเรียนรู้” (Innovative Learning) ที่คิดค้นมานั้น จะเน้นให้นักเรียน “คิดเป็นทำเป็น” โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นเครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้ เพื่อเสริมรากฐานที่เข้มแข็งทางปัญญาให้แก่ เยาวชนและคนไทย เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน และเรียนรู้ตลอดชีวิต

ปัจจุบัน “นวัตกรรมการเรียนรู้” (Innovative Learning) ได้ถูกนำมาปรับใช้กับน้องๆ ในโรงเรียน เพื่อสนับสนุนให้และชุมชนต้นแบบรวม 4 แห่ง คือ

1. โรงเรียนบ้านสันกำแพง จ.เชียงใหม่
2. ชุมชนบ้านลิ่มทอง จ.บุรีรัมย์
3. โรงเรียนบ้านสามขา จ.ลำปาง
4. โรงเรียนดรุณสิกขาลัย กรุงเทพมหานคร