loader image

การศึกษา คือ หัวใจของการพัฒนาประเทศ
นี่เป็นความตั้งใจแรกเริ่มของผม ไม่ใช่เพียงเท่านั้น
ทุกคนในสังคมยังต้องได้มีโอกาสที่เท่าเทียมกัน
ในการเข้าถึงความรู้ และเราต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้
ที่เหมาะกับเด็ก และเยาวชนไทย เพื่อให้พวกเขา
“คิดเป็นทำเป็น”


โครงการ การศึกษาทางไกล ผ่านดาวเทียม

ไทยคม มาจากคำว่า ไทยคมนาคม

หากย้อนไปถึงก้าวแรกแห่งความสำเร็จของ “มูลนิธิไทยคม” และคนไทยทั้งชาติ คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2536 ดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของคนไทย ถูกส่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศ โดยได้รับพระราชทานชื่อจาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชว่า “ไทยคม” (THAICOM) มาจากคำว่า Thai Communications หรือ ไทยคมนาคม

 

เริ่มจากลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสเข้าถึงการศึกษา

การส่งดาวเทียมสื่อสาร “ไทยคม” เรียกได้ว่าเป็นบันทึกก้าวแรกครั้งสำคัญของ “มูลนิธิไทยคม” ในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อเปิดโลกทัศน์ใหม่ด้านการศึกษา ให้กับเยาวชนและคนไทยในชนบท ลดความเหลื่อมล้ำของโอกาส ในการเข้าถึงแหล่งความรู้

 

จะใกล้ จะไกล ก็เข้าถึงการศึกษาได้ผ่านทีวี

มูลนิธิฯ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดาวเทียม ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้ง “สถานีวิทยุโทรทัศน์ เพื่อการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ“ หรือ ETV (Educational TV Station) ขึ้นเป็นครั้งแรก แพร่ภาพรายการด้วยสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ระบบส่งตรงถึงบ้าน DTH หรือ Direct to Home เพื่อให้โอกาสการศึกษาแก่ประชาชน ไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของประเทศ โดยเริ่มต้นทดลองแพร่ภาพออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2537 มีช่วงโครงการทดลอง 5 ปี

 

“รายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมมี ประโยชน์มาก ช่วยครูเราได้มากจริงๆ และช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครูประจำวิชาได้ดีที่สุด เคยพานักเรียนดู รายการวิทยาศาสตร์ ปรากฏว่านักเรียนชอบกันมาก”

– อาจารย์สุชาติ ศรีเชื้อ อาจารย์ใหญ่
โรงเรียนบ้านโคกมน อำเภอวังสะพุง จ.เลย (ข้อมูลสัมภาษณ์ ปี 2540)

 

5 ปี มูลนิธิฯ สนับสนุนการศึกษาผ่านโทรทัศน์ดาวเทียมเต็มกำลัง

• มูลนิธิไทยคมอาสาเป็นผู้รับภาระค่าเช่าช่องสัญญาณตลอดช่วงโครงการทดลอง โดยจัดช่องสัญญาณโทรทัศน์ในย่านความถี่ KU-Band ของดาวเทียมไทยคม เพื่อแพร่ภาพ และเนื้อหาด้านการศึกษาเป็นประจำทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

• มูลนิธิไทยคมร่วมมือกับ กรมการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) จัดทำชุดการศึกษา ทางไกลผ่านดาวเทียม 15,600 ชุด ด้วยการสนับสนุนงบประมาณ 121 ล้านบาท

 
 
“หลายๆ จุดที่ผมไปเยี่ยมเยียน เช่น โรงเรียน บ้าง บุ่งไสล่ และโรงเรียนบ้านห้วยทรายคา อำเภอสะพุง และโรงเรียนเอราวัณวิทยาคม รวมทั้งการพบกลุ่มที่ศูนย์บริการการศึกษา นอกโรงเรียนอำเภอวังสะพุง และอำเภอ เชียงคาน ต่างก็ใช้รายการโทรทัศน์ช่วยให้ ผู้เรียนมีความรู้กว้างไกลมากขึ้น ได้ทั้งความรู้ และประสบการณ์”

– เรืองเวทย์ แสงรัตนา กศน. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากบทความเรื่อง
“เมื่ออยู่ไกลต้องเรียนผ่านไทยคม” หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ปี 2540