เส้นทางการเรียนรู้กว่า 25 ปี ของโรงเรียนบ้านสันกำแพง จ.เชียงใหม่

“เมื่อผมมีโครงการดาวเทียมไทยคม ผมจึงคิดที่จะใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษา ถมช่องว่างระหว่างเด็กในเมืองกับชนบท และผมก็เลือกโรงเรียนประชาบาลสันกำแพงที่ผมไม่ได้เรียนภาษาอังกฤษ เป็นศูนย์ของเชียงใหม่”
.
คำกล่าวของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ก่อตั้งมูลนิธิไทยคม และเป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนบ้านสันกำแพง

โรงเรียนบ้านสันกำแพง เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่เปิดสอนระดับอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งก่อนหน้านั้นก็มีวิธีจัดการเรียนการสอนไม่ต่างจากโรงเรียนทั่วไป จนเมื่อโรงเรียนได้ร่วมโครงการอบรมการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructionism กับมูลนิธิไทยคม ร่วมกับมูลนิธิศึกษาพัฒน์ และ กศน.จังหวัดลำปาง โรงเรียนบ้านสันกำแพงจึงได้เป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกที่นำทฤษฎีนี้มาประยุกต์ใช้
.
โดยมีคุณครูโสภาพรรณ ชื่นทองคำ หนึ่งในครูที่ได้เรียนรู้แนวทางดังกล่าวเป็นรุ่นแรกตั้งแต่ปี 2542 และได้นำแนวคิดดังกล่าวมาทดลองจัดกระบวนการเรียนการสอนเป็นครั้งแรกในห้องเรียนชั้น ป.3/5 จนสามารถขยายผลและนำวิชาโครงงานมาปรับใช้กับการเรียนการสอนมาเป็นเวลากว่า 25 ปีแล้ว
.
ในปัจจุบัน มูลนิธิไทยคม ได้สนับสนุนการปรับปรุงห้องเรียนให้เป็นห้อง Fab Learn Lab เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กระบวนการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านสันกำแพง ภายใต้ชื่อ Opportunity Space by Dr.Thaksin Shinawatra

ปัจจุบันโรงเรียนบ้านสันกำแพง จ.เชียงใหม่ เป็นโรงเรียนที่นำเอา ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) มาปรับใช้กับการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนมาอย่างต่อเนื่อง และได้พัฒนากระบวนการเรียนรู้ในแบบฉบับของโรงเรียน
.
ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะส่งเสริมให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำโครงงานของตัวเอง ภายใต้หัวข้อต่าง ๆ ในปีการศึกษานั้น โดยใช้กระบวนการ 5S ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้

1. จุดประกายความคิด (Sparking) คือ การกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสงสัยใคร่รู้ ตื่นเต้น และอยากค้นหา

2. สะกิดให้ค้นคว้า (Searching) คือ การนำประเด็นที่ผู้เรียนสนใจ มาศึกษาค้นคว้า เรียนรู้ให้เข้าใจ

3. นำพาสู่การปฏิบัติ (Studying) ฝึกให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหา ทำให้เข้าใจด้วยการคิดอย่างเป็นระบบ

4. จัดองค์ความรู้ (Summarizing) ผู้เรียนสามารถสรุปบทเรียนที่เกิดขึ้น ผ่านมุมมองและประสบการณ์ ในรูปแบบของตัวเองได้อย่างเข้าใจ

5. นำเสนอควบคู่การประเมิน (Show and Sharing) ผู้เรียนนำเสนอบทเรียนของตนเองให้กับเพื่อน ๆ รวมถึงร่วมกันเติมเต็มความรู้และมุมมองให้กันและกัน

ซึ่งทั้ง 5 ขั้นตอนนี้ เป็นแนวทางที่คุณครูนำไปปรับใช้ผ่านกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนได้ทำความเข้าใจตัวเอง กล้าแสดงความคิดเห็น เห็นความสำคัญของการเรียน และเติบโตเป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิต

#lifelonglearning #การเรียนรู้ตลอดชีวิต
#globalcitizen #พลเมืองโลก
#thaicomfoundation #มูลนิธิไทยคม
#ตื่นรู้คิดได้ทำเป็น

เพราะเยาวชนคืออนาคตของประเทศ มูลนิธิไทยคมจึงให้ความสำคัญกับการสร้างโอกาส สร้างกระบวนการ และสร้างสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนรู้มีแนวคิดและทักษะที่นำไปสร้างไอเดียและผลงานเกิดขึ้นจริง
.
โรงเรียนบ้านสันกำแพงจึงได้จัดการเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructionism ซึ่งมูลนิธิไทยคมได้สนับสนุนการจัดสร้างห้องปฏิบัติการ Opportunity Space by Dr.Thaksin Shinawatra ให้กับโรงเรียน เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้ทักษะการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Skill) ความคิดสร้างสรรค์ โดยการสร้างสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม นวัตกรรมต้นแบบ (Rapid Prototype) จึงจัดให้มีกิจกรรม Lab Tour ปีการศึกษา 2567 เพื่อเป็นการจุดประกายความคิดให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างวันที่ 30-31 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องปฏิบัติการ Opportunity Space by Dr.Thaksin Shinawatra โรงเรียนบ้านสันกำแพง