loader image

ปลดล็อคความคิดสร้างสรรค์เหนือจินตนาการ สู่การสร้างนวัตกรรมสู่สากลโลก

ในยุคปัจจุบันที่ AI สามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ และมีความรู้เรื่องใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา อาจารย์คิดว่าการเรียนรู้โดยธรรมชาติของคนเราเป็นอย่างไร

ผมคิดว่า AI เป็นเครื่องมือที่ไม่สามารถแทนความคิด อ่าน เขียนของมนุษย์ได้ แต่นำมาเป็นเครื่องมือในการทำงานให้ดีขึ้น ซึ่งสามารถแทนมนุษย์ได้ไหม ในแง่ของสมองคงยังไม่ได้  ในธรรมชาติของมนุษย์เราค่อนข้างซับซ้อน มีพลวัฒน์หรือทรงพลังสูงกว่า AI ในแง่ของอารมณ์ สามารถเบี่ยงเบนที่ตรงไปตรงมาได้ เนื่องจากตัว AI เป็นตัวที่ถูกป้อนข้อมูล แต่เมื่ออยู่ในเรื่องของความคิดของมนุษย์มีความซับซ้อนมากกว่า และ เกิดสิ่งที่เป็นปัจจัยหรือสิ่งเบี่ยงเบนในสิ่งที่ตรงไปตรงมาอย่างระบบ AI เพราะระบบนี้มาจากข้อมูลแต่มนุษย์อาจจะไม่มีข้อมูลในส่วนการทำงานของสมองในการที่จะสามารถแสดงศักยภาพมาได้มากกว่าระบบ AI

บทบาทในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่

ในส่วนของเยาวชนรุ่นใหม่ ผมมองว่า พวกคนรุ่นก่อนมักจะตั้งคำถามอยู่เสมอว่า “เด็กสมัยนี้เปลี่ยนไป” แต่ความจริงแล้วเด็กเหล่านั้นไม่ได้เปลี่ยนไป เพียงแต่เขาเกิดมาพร้อมกับสิ่งเหล่านั้นอยู่แล้ว ในเรื่องของการเรียนรู้ผมเชื่อว่าเด็กเหล่านี้ไปไกลกว่าและล้ำกว่าคนในรุ่นพวกเราค่อนข้างมาก และจะเป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ แต่ก็จะถูกทบทวนด้วยคำถามแบบเดิม ๆ ว่า เด็กสมัยนี้เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา ความจริงแล้วเราต้องคิดว่า คนเหล่านี้อาจจะไม่ได้เปลี่ยนไปเลยหรือเปล่า ในส่วนของการเรียนรู้เราต้องเปลี่ยนแปลงให้เด็กรุ่นนี้อยู่กับเทคโนโลยียังไงให้มีความสุขและใช้มันได้ฉลาดเพียงพอที่จะใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ในส่วนของมุมมองของอาจารย์ ในเมื่อระบบการศึกษาไทยในปัจจุบันไม่ได้ตอบโจทย์ของความต้องการมากพอ จะทำยังไงให้แตกต่างออกไปจากสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ในการศึกษาปัจจุบัน เรามักจะพูดเสมอว่า ในศตวรรตที่ 21 การเรียนรู้เปลี่ยนไปแต่ทำได้แค่พูด แต่ในส่วนกระบวนการยังไม่เกิดขึ้นจริง เนื่องจากในวิธีคิดของผู้ให้การศึกษาไม่ได้เปลี่ยนไปจึงยังเป็นอุปสรรคอยู่ กลไกที่ช่วยได้ดีที่สุดคือ เรื่องของมีช่องทางการเรียนรู้ให้มากขึ้นเรื่อย ๆ มากกว่าในโรงเรียน ยกตัวอย่างเช่นในช่วงเหตุการณ์ของโควิด-19 ที่เด็กสามารถเข้าถึงดิจิตอลมากขึ้น ไม่ใช่แค่เพื่อโซเชียลอย่างเดียวแต่เพื่อการเรียนรู้สิ่งนี้สำคัญที่สุด ในขณะเดียวดันอาจารย์ผู้สอนต้องเรียนรู้กับเด็กใหม่ไปด้วย ตราบใดที่ยังติดขั้นตอนรูปแบบเดิม ก็ไม่สามารถที่ทำให้การมองเห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น

ในส่วนของการเรียนรู้ข้ามศาสตร์ (Interdisciplinary) สำคัญอย่างไรในโลกปัจจุบัน

การเรียนรู้ข้ามสายมันมีมาตลอด เพียงแต่ว่า เวลาเรามองมักมองเป็นสัดส่วน ตามสายต่าง ๆ เช่น สายวิทย์ สายศิลปะ ถ้ามองให้ลึกเข้าไปความเป็นจริงแล้วจะรู้ว่า การเรียนวิทยาศาสตร์ ตามชื่อแปลว่า ศาสตร์แห่งความรู้ ไม่ได้หมายถึงแค่วิชาเรียน และสามารถเชื่อมโยงแต่ละศาสตร์ได้มากมาย เช่น ศาสตร์ของศิลปะ ดนตรี และสิ่งต่าง ๆ ในสังคมได้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราเรียนภาษา จุดมุ่งหมายของภาษา คือ การรู้เรื่องของภาษาว่ามีลักษณะอย่างไร มีระบบการทำงานอย่างไร ใช้อย่างไร แต่จริง ๆ แล้วถ้าเรามีจุดมุ่งหมายที่ไกลกว่านั้น ตัวภาษาคือเครื่องมือในการสื่อสาร สิ่งนี้ควรจะเป็นจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ภาษาสำหรับการสื่อสาร หรือวิชาศิลปะ จุดมุ่งหมายคือการถ่ายทอดความคิด อ่าน ในเชิงศิลปะออกมา ซึ่งความเป็นจริงแล้วศิลปะคือเครื่องมือในการสื่อสารเช่นเดียวกัน ในยุคข้างหน้าไปเรื่อย ๆ ก็จะเชื่อมโยงกับเทคโนโลยี และเชื่อมโยงในศาสตร์ต่าง ๆ

ในปัจจุบันมีนวัตกรรมรูปแบบต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในชาติที่สร้างนวัตกรรมที่สำคัญของโลก การสร้างนวัตกรรมเหล่านี้ควรมีแนวทางอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

ในส่วนของนวัตกรรม ยังยากที่จะตอบว่า ทำงานแล้วถึงจะสร้างนวัตกรรมได้ แต่นวัตกรรมควรเป็นความคิด – อ่านตั้งแต่เด็ก สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เริ่มจากนวัตกรรม แต่เริ่มจากจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์จะไม่เกิดขึ้นถ้าไม่มีจินตนาการ ถ้าสังเกตดูในตัวเด็กเล็ก ๆ จะมีจินตนาการที่เราคาดไม่ถึง สิ่งเหล่านั้นนำมาสู่ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์จึงเชื่อมโยงกัน และจินตนาการตั้งแต่เด็ก เด็กต้องรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้กับเด็ก แต่ความเป็นจริงแล้วจินตนาการของเด็กเหล่านี้จะเริ่มหายไปเมื่อต้องอยู่กับโลกความเป็นจริง เมื่อเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงเมื่อไปโรงเรียนเจอผู้ถ่ายทอดความรู้ที่ไม่มีประสิทธิภาพมากพอก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้จินตนาการลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด จินตนาการจึงเป็นสิ่งที่ผูกโยงกับสิ่งที่เป็นคำถาม เช่น คำถามจากเด็กเมื่อถามว่า “เมื่อรถลงสะพานแล้วทำไมรู้สึกเกิดอาการเสียววูบ ในท้องหรือรู้สึกใจหวิว ๆ” สิ่งนี้จำเป็นต้องหาคำตอบให้เด็กเหล่านี้ได้ว่าเพราะอะไรถึงเกิดเช่นนี้ หรือ ไม่ใช้ชุดคำตอบที่ทำให้เลิกจินตนาการว่าเพราะอะไร สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่อยู่ในตัวเด็กอยู่แล้วและจินตนาการและชุดคำถามเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องรักษาไว้ในตัวเด็กให้ได้

.

รศ.ดร.วีรศักดิ์ สุระเรืองชัย 

ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้ากลุ่มวิจัย Freak Lab

.

#Thaicomfoundation

#มูลนิธิไทยคม

#TCFGlobalCitizen