ในยุคปัจจุบันที่ AI สามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ และมีความรู้เรื่องใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา อาจารย์คิดว่าการเรียนรู้โดยธรรมชาติของคนเราเป็นอย่างไร ผมคิดว่า AI เป็นเครื่องมือที่ไม่สามารถแทนความคิด อ่าน เขียนของมนุษย์ได้ แต่นำมาเป็นเครื่องมือในการทำงานให้ดีขึ้น ซึ่งสามารถแทนมนุษย์ได้ไหม ในแง่ของสมองคงยังไม่ได้ ในธรรมชาติของมนุษย์เราค่อนข้างซับซ้อน มีพลวัฒน์หรือทรงพลังสูงกว่า AI ในแง่ของอารมณ์ สามารถเบี่ยงเบนที่ตรงไปตรงมาได้ เนื่องจากตัว AI เป็นตัวที่ถูกป้อนข้อมูล แต่เมื่ออยู่ในเรื่องของความคิดของมนุษย์มีความซับซ้อนมากกว่า และ เกิดสิ่งที่เป็นปัจจัยหรือสิ่งเบี่ยงเบนในสิ่งที่ตรงไปตรงมาอย่างระบบ AI เพราะระบบนี้มาจากข้อมูลแต่มนุษย์อาจจะไม่มีข้อมูลในส่วนการทำงานของสมองในการที่จะสามารถแสดงศักยภาพมาได้มากกว่าระบบ AI บทบาทในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ ในส่วนของเยาวชนรุ่นใหม่ ผมมองว่า พวกคนรุ่นก่อนมักจะตั้งคำถามอยู่เสมอว่า “เด็กสมัยนี้เปลี่ยนไป” แต่ความจริงแล้วเด็กเหล่านั้นไม่ได้เปลี่ยนไป เพียงแต่เขาเกิดมาพร้อมกับสิ่งเหล่านั้นอยู่แล้ว ในเรื่องของการเรียนรู้ผมเชื่อว่าเด็กเหล่านี้ไปไกลกว่าและล้ำกว่าคนในรุ่นพวกเราค่อนข้างมาก และจะเป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ แต่ก็จะถูกทบทวนด้วยคำถามแบบเดิม ๆ ว่า เด็กสมัยนี้เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา ความจริงแล้วเราต้องคิดว่า คนเหล่านี้อาจจะไม่ได้เปลี่ยนไปเลยหรือเปล่า ในส่วนของการเรียนรู้เราต้องเปลี่ยนแปลงให้เด็กรุ่นนี้อยู่กับเทคโนโลยียังไงให้มีความสุขและใช้มันได้ฉลาดเพียงพอที่จะใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ในส่วนของมุมมองของอาจารย์ ในเมื่อระบบการศึกษาไทยในปัจจุบันไม่ได้ตอบโจทย์ของความต้องการมากพอ จะทำยังไงให้แตกต่างออกไปจากสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในการศึกษาปัจจุบัน เรามักจะพูดเสมอว่า ในศตวรรตที่ 21 การเรียนรู้เปลี่ยนไปแต่ทำได้แค่พูด แต่ในส่วนกระบวนการยังไม่เกิดขึ้นจริง เนื่องจากในวิธีคิดของผู้ให้การศึกษาไม่ได้เปลี่ยนไปจึงยังเป็นอุปสรรคอยู่ กลไกที่ช่วยได้ดีที่สุดคือ […]
Category Archives: Global Citizen
การที่ระบบการศึกษามันไม่ตอบโจทย์เลยแล้วเด็กที่ประสบปัญหาด้านนี้ เมื่อมีทุนก็สามารถออกไปศึกษาหรือค้นพบตัวเองได้ ในขณะเดียวกันคนอื่นที่ไม่สามารถเข้าถึงโอกาสอื่น ๆ ในการศึกษา พีพีมีความคิดเห็นอย่างไรกับประเด็นนี้ ส่วนตัวให้ความเห็นว่าประเด็นแรกคือ เราต้องตั้งคำถามว่าจุดหมายของการศึกษาของเราคืออะไร คือตอนนี้เราอยู่ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่างเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก เทคโนโลยีไม่ใช่แค่วิ่ง แต่มันคือบินด้วยสปีดที่เร็วมาก ๆ เหมือนล่าสุดอย่างระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence – AI) ที่ทรงพลังมาก ๆ อย่าง GPT-4 ที่ถูกนำเสนอออกมา ซึ่งผลออกมาปรากฎว่ามันสามารถทำข้อสอบได้ดี ไม่ว่าจะเป็น ข้อสอบทางการแพทย์ ทางกฏหมาย ในส่วนนี้มันทำให้คุณครูหลาย ๆ ท่านรู้สึกกังวลว่า “ข้อสอบที่ตนเองมีไม่สามารถวัดผลของเด็กได้อีกต่อไป”แต่ทำให้สะท้อนกลับมามองว่าการศึกษาจริง ๆ มันคืออะไรกันแน่ เราต้องการทำให้เด็กสอบได้ดีขึ้น หรือเราต้องการทำให้เด็กได้เรียนรู้จักตัวเองแล้วก็ทำในสิ่งที่เขาอยากจะทำ เมื่อเรากลับมามองในจุดนี้ ปัจจุบันการศึกษามันมีปัญหาและไม่ดีด้วยคุณภาพของระบบเอง หรือว่ามันไม่ดีเพราะว่าเป้าหมายที่เราตั้งไว้ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ในยุคที่เรามี AI ที่มันสามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ ดังนั้นเมื่อตั้งคำถามว่า “ความเหลื่อมล้ำมันมีผลกับตรงนี้ยังไง” แน่นอนว่าเด็กที่อยู่ในโรงเรียนที่อาจจะมีหลักสูตรที่เป็นแบบต่างประเทศหรือว่าไปเรียนต่างประเทศแน่ ๆ เขาจะได้เห็นโลกที่กว้างกว่าคิดแต่ในขณะเดียวกัน เด็กที่อยู่ในประเทศไทยก็ยังสามารถที่จะรับรู้ข้อมูลที่มันเกิดขึ้นในโลกนี้เพราะว่าเราอยู่ในโลกที่มันเต็มไปด้วยข้อมูลเต็มไปหมด ดังนั้นสำหรับผมคิดว่าความเหลื่อมล้ำมันไม่ใช่แค่ ความเหลื่อมล้ำว่าใครได้ไปเรียนเมืองนอกหรือใครได้อยู่ในไทย แต่ว่ามันเป็นความเหลื่อมล้ำของ ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) ว่าใครเรียนรู้ที่จะใช้ข้อมูลได้เป็นประโยชน์มากกว่ากัน […]
แนวคิดของแอปพลิเคชัน “ฟังใจ” ที่มา คือ อยากสร้างพื้นที่ให้นักดนตรีรุ่นใหม่ได้มีพื้นที่ในการแสดงออก โดยที่พยายามลดขั้นตอนัทเและข้อจำกัดในการเผยแพร่ผลงานตัวเองให้ได้น้อยที่สุด ช่วงที่เราทำ “ฟังใจ” ต้องบอกว่าสื่อที่ทำดนตรีเคยถูก Gatekeeper อยู่ในระดับนึงในการสร้างสรรค์ผลงานและผลิตผลงานออกมา ก็จะมีช่องทางที่เป็น Traditional Media อยู่ค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นสื่อ โทรทัศน์ วิทยุ ซึ่งจะมี Airtime จำกัด ดังนั้นจะต้องมีการคัดเลือกว่าวงดนตรีวงไหน หรือ เพลงอะไร ที่จะได้รับเลือกมานำเสนอ เมื่อมาอยู่ในยุคของ Digital หรือ ยุคที่มี Social media จะมีคำหนึ่งคำที่เราเชื่อ คือ “ประชาธิปไตยทางดนตรี” เราอยากให้วงดนตรีทุกวง และ เพลงทุกเพลง ได้มีโอกาสถูกค้นพบเท่ากัน เลยทำแพลตฟอร์มส่วนนี้เข้ามา คือการจัดรูปแบบให้ ไม่ได้ให้น้ำหนักความสำคัญกับวงใดวงหนึ่ง หรือ แนวเพลงใดแนวเพลงหนึ่ง หรือ Trends ของดนตรีใดดนตรีหนึ่งเฉพาะ แต่เราให้อิสระกับผู้ฟัง ในการเข้าถึงบทเพลงที่อยากฟังด้วยตัวเอง โดยหลักการในการจัดเพลย์ลิสต์จะไม่ได้จัดเลือกเฉพาะวงที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว แต่จะเป็นการสร้างให้การค้นพบมีความเป็นธรรมชาติมากขึ้น โดยให้ศิลปินที่มีฐานชื่อเสียงอยู่แล้วมารวมกับศิลปินใหม่ ๆ เพื่อให้ผู้ฟังได้ค้นพบดนตรีในสิ่งที่ตัวเองสนใจจริง ๆ โดยให้เท่าเทียมที่สุด […]
ชื่อ วราลี เนติศรีรัฒน์ นักออกแบบการเรียนรู้และกระบวนกร (Learning Designer and Facilitator) จาก InsKru พื้นที่แบ่งปันไอเดียการสอน บทบาทของ InsKru ในการส่งเสริมการศึกษาไทยในปัจจุบัน ถ้าพูดถึงบทบาท InsKru ในปัจจุบัน เราเป็นเหมือน Supporter ให้คุณครูได้เป็นนักริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถเป็น Support Teacher ที่จะไปสร้างการเรียนรู้ที่ปลอดภัย และ มีความหมายให้กับเด็ก ๆ ได้ โดยรูปแบบที่ทำมีหลากหลายรูปแบบ เช่น เรื่องของ Community ที่รวมคุณครู มาทำบางสิ่งบางอย่าง เพื่อขับเคลื่อนไปด้วยกัน หรือว่าเป็นเครื่องมือต่าง ๆ การจัดกิจกรรม การจัดอบรมหรือการจัด Workshop ก็เป็นรูปแบบที่ InsKru ใช้ในการ Support คุณครู Facilitator ที่ดีต้องร่วมไปกับสภาพแวดล้อมที่ดีด้วย สภาพแวดล้อมในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ดีเป็นอย่างไร สภาพแวดล้อมที่ดีในการเรียนรู้ สามารถแยกออกมาได้เป็น 2 ประเด็น – ประเด็นแรก คือ […]
เราควรมีทักษะ หรือ แนวทางอย่างไร ที่จะสามารถสร้างสรรค์ผลงานให้มีความโดดเด่นและไปสู่เวทีโลกได้ เบสท์ : ส่วนตัวคิดว่าปกติ Eyedropper Fill เริ่มทำงานจากงานเรื่องส่วนตัว และเริ่มคิดว่าเวลาจะเริ่มทำงาน 1 ชิ้น จะเริ่มจากเรื่องส่วนตัว หรือ จากเรื่องที่เราประสบพบเจอกับตัวเอง เพราะว่า อย่างแรก ทำให้เราโฟกัสกับประเด็นนี้นานขึ้น และ ทำให้เราอยู่กับประเด็นนั้นจริง ๆ โดยส่วนตัวคิดว่าเรื่องส่วนตัวสามารถเชื่อมโยงกับเรื่องของคนอื่น ๆ ได้เสมอ เพราะเราเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่เป็นส่วนหนึ่งของโลกใบนี้ และคิดว่างานทุกชิ้นจะใช้กระบวนการ เริ่มต้นโดยที่คิดถึงเรื่องของ Personal Story ที่สามารถเชื่อมโยงกับ Universal Story ได้ เลยคิดว่า ถ้าอยากทำงานให้ไปถึงเวทีโลก เราควรจะเริ่มจากงานที่เรารู้สึกกับมันจริง ๆ ก่อน หรือว่า อยากจะลงมือทำจริง ๆ ในมุมมองของ Eyedropper Fill มีมุมมองอย่างไรในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยเพื่อสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ได้มีพื้นที่ในการฟูมฟักไอเดียในการสร้างสรรค์ผลงานของตัวเอง เบสท์ : ถ้าพูดถึงในเรื่องของพื้นที่ปลอดภัย เราคิดว่าความเป็นจริงแล้ว เราเติบโตมาในสังคมของประเทศไทยที่เรารู้สึกว่าพื้นที่ปลอดภัยค่อนข้างหายากในสังคม โดยสังคมในทีนี้รวมไปถึง ความสัมพันธ์แบบครอบครัว เพราะบางครั้ง เมื่อเราทำผิดมา […]
Soft Power มีความสำคัญอย่างไรกับประเทศไทย Soft power มีความสำคัญต่อทั้งโลกไม่ใช่กับแค่ในประเทศ โดยมีความสำคัญทั้งสองด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ และ การเมือง ถ้าพูดถึง Soft power เป็นสิ่งที่มีต้นตอมาจากความคิด การที่เราสามารถพัฒนาความคิดให้เกิดเป็นอุตสาหกรรม และสามารถทำให้อุตสาหกรรมนั้นเกิดประสิทธิภาพที่สูงสุดได้ นั่นคือการสร้างนวัตกรรมให้กับวัฒนธรรมนั้นเกิดขึ้น ซี่งการสร้างนวัตกรรมให้วัฒนธรรมเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยหรือประเทศอื่น ๆ บนโลก สามารถสร้างอุตสาหกรรมใหม่ ที่มีขนาดใกล้เคียง หรือ เทียบเท่า กับอุตสาหกรรมที่เป็นรายได้หลักของประเทศเดิมอยู่แล้วได้ ซึ่งถ้าสร้างนวัตกรรมให้กับวัฒนธรรมของคนไทยได้ จะมีโอกาสที่ขยายเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยก้าวขึ้นไปอยู่ในระดับสากลได้นั่นคือความสำคัญของ “Soft Power” วัฒนธรรม / นวัตกรรม ความเป็นจริงคือการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นคือ นวัตกรรม แต่สิ่งที่ทำซ้ำต่อเนื่องมาเป็นเวลานานจนกลายเป็นจารีต คือ วัฒนธรรม แต่สองอย่างนี้เมื่อรวมกันแล้ว ไม่ได้มีค่าเท่ากับสอง แต่มีค่ามากกว่าสาม สี่ หรือ สิบเป็นต้นไป ทั้งสองอย่างนี้เป็นการรวมกันของสองสิ่งที่อยู่ขั้วตรงข้ามกันเข้ามารวมไว้ด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น คนแรกที่เอายางลบมาใส่ไว้ในท้ายของดินสอ ทั้งที่สองสิ่งอยู่ขั้วตรงข้ามกัน สิ่งหนึ่งมีไว้เขียน อีกสิ่งหนึ่งมีไว้ลบ จนกลายเป็นสิ่งที่เราใช้งานจนถึงปัจจุบัน นั่นคือนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนให้สังคมก้าวไปข้างหน้า การนำนวัตกรรมและวัฒนธรรมสองสิ่งนี้มารวมกัน […]